วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556





ชนใดไม่มีดนตรีกาล

ในสันดารเป็นคนชอบกลนัก



ประโยชน์ของการฟังเพลง
    
     มีประโยชน์เพื่อผ่อนคลายความเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ ก่อให้เกิดสมาธิ เราจึงควรหาโอกาสฟังเพลง
    โดยเลือกเวลาที่ว่างหรือเวลาที่ไม่รีบเร่ง หรือไม่ต้องใช้ความคิด เช่น เวลารับประทานอาหาร ระหว่างการเดินทาง ขณะพักผ่อน ออกกำลังกาย หรือขณะทำงานบ้าน เป็นต้น หากจะใช้ในที่ทำงาน ควรเลือกเวลาสถานที่และโอกาสที่เหมาะสม เพื่อไม่เป็นการรบกวนผู้อื่น และควรมีเทปเพลงที่ชื่นชอบหรือโปรดปราน ติดไว้เพื่อหยิบใช้ได้สะดวกทุกเวลาที่ต้องการ 
เริ่มตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้า คุณควรมีวิทยุเครื่องเล็กๆ ไว้ใกล้ตัวสักเครื่อง เริ่มตั้งแต่ตอนเช้า หยิบวิทยุเข้าไปในห้องน้ำด้วย เพื่อเปิดฟังเสียงใสๆ กระชับๆ ทำให้มีชีวิตชีวา แจ่มใส กระปรี้กระเปร่า ขณะเดินทางไปทำงาน ควรฟังเพลงช้า มีเสียงร้อง เนื้อร้องที่กังวาลแจ่มใส แต่ในขณะที่ทำงาน หากต้องการฟังเพลงไปด้วย ทำงานไปด้วย ควรฟังเพลงบรรเลง จะช่วยทำให้บรรยากาศทำงานสดชื่นกว่าทำเงียบๆยกเว้นเมื่อต้องอาศัยความเงียบในการทำงาน 
   เมื่อขณะต้องการออกกำลังกาย ควรเลือกเพลงที่มีจังหวะเร็ว กระชับ จะช่วยทำให้อยากออกกำลัง และออกกำลังได้นาน แต่การออกกำลังกายที่ดี ควรเริ่มต้นด้วยการวอร์มร่างกายก่อน โดยออกกำลังกายเบาๆ โดยใช้เพลงจังหวะปานกลาง แล้วจึงค่อยเปลี่ยนเป็นจังหวะเร็ว มากขึ้น และกลับมาเป็นจังหวะปานกลาง การออกกำลังที่ได้ผล คือต้องให้อัตราชีพจรมีค่าประมาณ 70% ของอัตราชีพจรสูงสุดของคนคนนั้น (220 ลบด้วยอายุ) จะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว ลดไขมัน และยังทำให้อารมณ์สดชื่นแจ่มใสได้เหนื่อยจากร่างกายจะหลั่งสารเอ็นโดฟิน ออกมา ทำให้เกิดความสุข ในการนี้เพลงช่วยทำให้เกิดความเพลิดเพลิน ทำให้ประสบความสำเร็จในการออกกำลังกาย เช่นเดียวกัน หากทำงานที่ไม่ต้องใช้ความคิดมาก เช่น ทำงานบ้าน ควรเปิดเพลงที่สนุกสนาน ร่าเริง ไปด้วย จะช่วยให้ทำงานได้นานขึ้น และไม่เหนื่อยมาก 
เวลาที่สะดวกที่สุดเห็นจะเป็นช่วงเวลาว่าง พักผ่อน เช่นในเวลารับประทานอาหาร ขบวนการย่อยอาหารในร่างกายเริ่มทำงาน เสียงดนตรีที่ไพเราะฟังสบายๆ จังหวะช้า จะช่วยทำให้เกิดอารมณ์สุนทรีย์เบิกบาน ทำให้มีผลดีต่อการทำงานของระบบย่อยอาหาร จึงช่วยทำให้สุขภาพดีได้ 
   การฟังดนตรีให้มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นกับปัจจัยร่วมต่อไปนี้ 
1. คุณภาพของดนตรีที่ฟัง ตลอดจนเครื่องเสียงที่ถ่ายทอดดนตรีออกมา 
2. สถานที่ ที่เหมาะสมในการฟังเพลง ซึ่งจะช่วยทำให้ฟังเพลงได้ไพเราะขึ้น สร้างบรรยากาศทำให้ผู้ฟังมีอารมณ์อยากฟังเพลง เช่น สถานที่ที่เงียบ ไม่มีเสียงรบกวนจากภายนอก มีอุณหภูมิที่เย็นสบาย ความสวยงาน เป็นระเบียบของห้อง เป็นต้น 
3. โอกาส ควรเป็นช่วงที่ว่าง เป็นเวลาที่ผู้ฟังมีความพร้อมที่จะฟังเพลงมีอารมณ์ 
4. ระยะเวลาที่เหมาะสม หากฟังเพลงนานมากไป จะทำให้เกิดความเบื่อเหนื่อย เมื่อยล้าได้ เพราะประสาทรับฟังทำงานมากไป จึงควรฟังเพลงแต่พอสมควร และหยุดพัก ดีกว่าฟังเพลงทีละหลายชั่วโมง 
5. ระดับการรับรู้ และ อารมณ์ของผู้ฟัง ประเภทของเพลง ควรเป็นเพลงที่ไพเราะ สร้างสรรค์ ก่อให้เกิดความรู้สึกที่ดี เช่น มีความสุข สดชื่นแจ่มใส มีพลังกำลังใจ หรือ มีความสงบ ผ่อนคลาย เป็นต้น หลีกเลี่ยงเพลงทำนองเศร้า หดหู่ หรือก่อให้เกิดความตึงเครียด สับสน รำคาญ ตื่นเต้นตกใจ เหนื่อย เป็นต้น เพลงที่มีจังหวะช้า และจังหวะปานกลาง จะได้รับความนิยมมาก เพราะฟังได้แทบทุกโอกาส 
   การร้องเพลง มีประโยชน์เพื่อระบายความตึงเครียดในใจ โดยผ่านการร้องออกมาเป็นทำนอง และ จังหวะ ช่วยบริหารปอด ทำให้ความจุปอดเพิ่มขึ้น ทำให้ร่างกายสดชื่นแข็งแรง และยังเสริมสร้างความมั่นใจในตนเอง ควรร้องเพลงขณะที่มีอารมณ์ ในเวลา และในสถานที่ที่เหมาะสม เช่นในห้องส่วนตัว ห้องน้ำ ห้องพักผ่อน ในรถยนต์ส่วนตัว หรือตามที่ที่ได้รับเชิญ ปัจจุบันมีเครื่องเสียง คาราโอเกะ ช่วยให้ผู้ร้องเพลงไม่เป็นได้หัดร้องเพลง และ เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน โดยเฉพาะเมื่อร้องเป็นกลุ่ม 
   ประเภทของเพลงที่ร้อง ควรเลือกเพลงที่มีระดับเสียงไม่สูงหรือต่ำเกินไป จะได้ไม่เหนื่อยและเลือกเพลงที่มีเนื้อร้องสละสลวย คล้องจองจำง่าย เพเราะ เนื้อหาฟังสบาย สร้างสรรค์ และ ไม่เครียด

การเต้นรำ การเคลื่อนไหวให้เข้ากับจังหวะดนตรี มีประโยชน์คือ ทำให้เกิดความเพลิดเพลิน ไม่เบื่อหน่าย ผ่อนคลายความตึงเครียด เกิดความสมดุลของร่างกายและจิตใจ ทั้งยังทำให้ร่างกายมีความแข็งแรงทนทาน เคลื่อนไหวได้สะดวกขึ้น จึงควรหาโอกาสทำกิจกรรมนี้เป็นประจำและสม่ำเสมอ เพราะจะช่วยทำให้สุขภาพแข็งแรง โดยเลือกวิธีที่ง่าย สะดวก และ ปลอดภัย ตนตรีจะเป็นสื่อช่วยทำให้อยากเคลื่อนไหวร่างกาย และกระทำได้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น การออกกำลังกายทุกวันโดยมีเพลงร่วมด้วย หรือ ขณะฟังเพลงให้ขยับปลายเท้าหรือเคาะมือ ตบมือให้เข้ากับจังหวะเสียงเพลง เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น